แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
รหัสวิชา  ว 12101              ชื่อรายวิชา วิทยาศาสตร์                         ชั้นประถมศึกษาปีที่  2
กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์                                                     ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2558
หน่วยการเรียนรู้ที่   2    เรื่อง    ดินและการใช้ประโยชน์                                      เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  17   เรื่อง    ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร (1)          เวลา 1 ชั่วโมง
ชื่อผู้สอน  นางสาววารินทร์  ล่าล้อง                                                                 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
 

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
                      มาตรฐาน (6.1)  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

2. ความคิดรวบยอด
                      ดินแต่ละแหล่งมีสมบัติต่างกันในเรื่องลักษณะของเนื้อดิน  การอุ้มน้ำ และการจับตัวกันของดิน ทำให้จำแนกดินออกเป็น 3 ประเภท คือ  ดินเหนียว  ดินร่วน และดินทราย ซึ่งจะเหมาะต่อการปลูกพืชได้ต่างกัน

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ (KPA)
                      สังเกตและอภิปรายเพื่อสรุปสมบัติของดินเหนียว  ดินร่วนและดินทราย  ( K )
                      -  ทดลองและสืบค้นข้อมูล สรุปชนิดของพืชที่เหมาะกับการปลูกในดินแต่ละชนิด ( P )
                      -  สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการเรียนรู้ เพื่อหาคำตอบได้ ( A )

4. สาระการเรียนรู้
    - การจำแนกประเภทของดินโดยมีสมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์
    - ประโยชน์ของดินในการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ ที่ต้องรู้วิธีปลูกและวิธีเลี้ยง รวมทั้งการดูแลรักษา


5. การบูรณาการกับสมรรถนะ
                      ด้านการสื่อสาร : สังเกตและอภิปรายเพื่อสรุปสมบัติของดินเหนียว  ดินร่วนและดินทราย 
      ด้านการคิด : ทดลองและสืบค้นข้อมูล สรุปชนิดของพืชที่เหมาะกับการปลูกในดินแต่ละชนิด  
                    สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการเรียนรู้ เพื่อหาคำตอบได้

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                      มีวินัย                                           
                      -  ใฝ่เรียนรู้                                     
                      -  มุ่งมั่นในการทำงาน

7. ชิ้นงาน/ภาระงาน
                      -  ใบกิจกรรมที่ 1 แผ่นที่ 1  เรื่อง  ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร
                       
8. กิจกรรมการเรียนรู้  
                      เทคนิคการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการสอนแบบ การอภิปราย
                      ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                      1) ครูนำสนทนาถึงความเกี่ยวข้องของพืชกับดินตามแนวคำถามต่อไปนี้
                                              - ที่บ้านของนักเรียนปลูกพืชอะไรบ้าง
                                              - ต้องใช้อะไรบ้างในการปลูกพืช
                                              - ดินที่บ้านของทุกคนเหมือนกันหรือไม่
                                              - ดินแต่ละชนิด  ปลูกพืชได้เหมือนกันหรือไม่
                         เพื่อนำสู่ความสนใจที่จะศึกษาสมบัติของดินต่างชนิดกัน
                      2) นักเรียนดูภาพ 2 ภาพ แล้วถามนักเรียนว่า
                                              - ดินทั้งสองภาพ มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                                                (แนวคำตอบ ต่างกัน คือ มีสีของดิน เนื้อดิน และการจับตัวกันของเนื้อดินต่างกัน)
                                              - ถ้าจะปลูกพืช นักเรียนจะเลือกใช้ดินในภาพใด  เพราะอะไร
                                                (แนวคำตอบ ภาพที่ 1 เพราะเนื้อดินร่วนซุย ไม่แห้งแข็งเหมือนในภาพที่ 2)
                     
 






                     



                      ขั้นดำเนินการอภิปราย                               
                      1) นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของดินว่า หมายถึง ลักษณะของดิน
                  ที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ เช่น สี ลักษณะของเนื้อดิน การอุ้มน้ำ การจับตัวของดิน
      2) ครูอภิปรายเปรียบเทียบการจับตัวของดิน ซึ่งควรสรุปได้ว่า                                                       
                      ดินชนิดที่ 1 มีเนื้อเนียน ละเอียดมาก น้ำไหลซึม ผ่านได้ช้าที่สุด และอุ้มน้ำไว้มาก
                                             ที่สุด เมื่อเปียก จะลื่นติดมือ แต่เมื่อแห้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง
                                              ดินชนิดที่ 2 มีเนื้อนุ่มมือ แต่ไม่ละเอียดเท่าดินชนิดที่ 1 น้ำไหลซึมผ่านได้เร็วว่าดิน
                                             ชนิดที่ 1 แต่ช้ากว่าดินชนิดที่ 3 เมื่อเปียกจะติดมือเล็กน้อยและจับตัวกัน 
                                             แต่เมื่อแห้งจะแตกตัวออกจากกันได้ง่าย
                                              ดินชนิดที่ 3 มีเนื้อหยาบ สากมือทั้งเมื่อเปียกและแห้ง น้ำไหลซึมผ่านได้เร็วที่สุดและ
                                             อุ้มน้ำไว้ได้น้อยที่สุด เนื้อดินไม่จับตัวกัน  
 






                      3) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า
                                              ดินชนิดที่ 1 เรียกว่า ดินเหนียว
                                              ดินชนิดที่ 2 เรียกว่า ดินร่วน
                                              ดินชนิดที่ 3 เรียกว่า ดินทราย
                      4) นักเรียนและครูสนนาเกี่ยวกับการจับตัวของดิน โดยให้นักเรียนช่วยกันพูดอธิบายว่าหมายถึง
                  อะไร และเราสามารถสังเกตลักษณะของเนื้อดินได้โดยวิธีใดได้บ้าง
                     
                      ขั้นสรุป
      1) นักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญของดินทั้งสามชนิด ได้ดังนี้ ดินแต่ละแหล่งมีสมบัติ
       ต่างกันในเรื่องลักษณะของเนื้อดิน  การอุ้มน้ำ และการจับตัวกันของดิน ทำให้จำแนกดินออกได้
       เป็น 3 ประเภท คือ  ดินเหนียว  ดินร่วน  และดินทราย   ซึ่งจะเหมาะต่อการปลูกพืชได้ต่างกัน
      2) ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 1 แผ่นที่ 1  เรื่อง  ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร
                     



                      ใบความรู้/ใบงาน/สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                      ใบงาน : ใบกิจกรรมที่ 1 แผ่นที่ 1  เรื่อง  ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร           
                      สื่อการเรียนรู้ : 1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  (สสวท.)
                      แหล่งเรียนรู้  : 1) ห้องสมุด
                                                 2) อินเตอร์เน็ต
                                                  http://edltv.dlf.ac.th/primary/
                                                  http://cogtech.kku.ac.th/innovations/soilanalysis/sdata61.htm                
                                                  http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69371

9. การวัดและประเมินผล 

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
ตรวจใบกิจกรรมที่ 1 แผ่นที่ 1  เรื่อง  ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร
ใบกิจกรรมที่ 1 แผ่นที่ 1  เรื่อง  ดินที่เหมาะกับการปลูกพืชเป็นอย่างไร
ร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์
สังเกตมีส่วนร่วมการอภิปรายในชั้นเรียน
แบบสังเกตการมีส่วนร่วมการอภิปรายในชั้นเรียน
ผ่าน คือ ผ่านเกณฑ์

เกณฑ์การประเมินใบบันทึกกิจกรรม


เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับคะแนน
2 คะแนน
1 คะแนน
1. บันทึกกิจกรรมถูกต้องครบถ้วน
บันทึกกิจกรรมถูกต้องครบถ้วนดี
บันทึกกิจกรรมยังไม่ค่อยถูกต้อง
2. การตั้งใจในการทำบันทึกกิจกรรม
ตั้งใจในการทำบันทึกกิจกรรมดี
ยังไม่ค่อยมีความตั้งใจในการทำบันทึกกิจกรรม
3. มีความเรียบร้อยและมีความสะอาดในการบันทึกกิจกรรม
มีความเรียบร้อยและมีความสะอาดในการบันทึกกิจกรรมดี
ไม่ค่อยมีความเรียบร้อยและไม่มีความสะอาดในการบันทึกกิจกรรม
4. มีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถาม
มีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถามดี
ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถาม
5. ส่งงานตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้
ส่งงานตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้ดี
ส่งงานช้าและไม่ตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้




เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ระดับคะแนน
ดี
(8-10 คะแนน)
ปานกลาง
(5-7 คะแนน)
ควรปรับปรุง
(ต่ำกว่า  5 คะแนน)
ผลการบันทึก
กิจกรรม
บันทึกกิจกรรมถูกต้องครบทั้งหมด มีความตั้งใจในการทำงานดี มีความเรียบร้อยในการทำงานและมีความสะอาดดี มีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถามดี และส่งงานตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้
บันทึกกิจกรรมยังไม่ค่อยถูกต้องทั้งหมด ไม่ค่อยมีความตั้งใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความเรียบร้อยในการทำงานและไม่ค่อยมีความสะอาด ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถาม และไม่ค่อยส่งงานตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้
บันทึกกิจกรรมไม่ถูกต้อง ไม่มีความตั้งใจในการทำงาน ไม่มีความเรียบร้อยในการทำงานและไม่มีความสะอาด ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการตอบคำถาม และส่งงานไม่ตรงเวลาที่กำหนดไว้


เกณฑ์การประเมินการมีส่วนร่วมในการอภิปราย

การประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ผ่าน
ไม่ผ่าน
การมีส่วนร่วมในการอภิปราย
ตั้งใจฟังครู สนใจการเรียนไม่เล่น ไม่คุยขณะเรียน  ตอบคำถามโต้ตอบครู
ไม่สนใจเรียน เล่นหรือคุยขณะเรียน  ไม่ลองตอบตอบคำถาม เมื่อครูถาม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น