วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

ดินเสื่อมโทรมและแนวทางการแก้ไข

ดินเสื่อมโทรมและแนวทางการแก้ไข
ดินเสี่อมโทรม 

         ดินเสี่อมโทรม คือ ดินที่มีสภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิม และอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านต่าง ๆ ของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นสมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดินสูญเสียโครงสร้างทำให้เกิดอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน ความอุดมสมบูรณ์ หรือปริมาณธาตุอาหารพืชลดลงและอยู่ในสภาวะไม่สมดุล สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพดินเสื่อมโทรม เกิดจากการชะล้าง พังทลายของดิน และการใช้ที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ขาดการบำรุงรักษา โดยสาเหตุสำคัญ คือ              1. สภาพทางนิเวศเปลี่ยนแปลงไปการหักล้างถางป่า และเผาป่า เพื่อมาทำการเกษตร ทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม การสะสมของอินทรีย์วัตถุมีน้อย อุณหภูมิของหน้าดินสูงขึ้น การละลายตัวของวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นไปรวดเร็ว                     
1. ดินกรดจัดอันเกิดจากอะลูมินัม มีสาเหตุมาจากธาตุอาหาร ที่เป็นพวกไอออนบวก และมีฤทธิ์เป็นด่างทั้งหลาย ถูกชะล้างออกไปจากดิน และอะลูมินัมเข้าไปแทนที่ไอออนบวก ที่เป็นด่างเหล่านั้น ทำให้ดินมี Al 3+ ถูกดูดซับไว้เพ  ิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดินเหล่านี้จึงอิ่มตัวด้วยอะลูมินัมเพิ่มมากขึ้น 
การแก้ไขปรับปรุงดินกรดจัดที่มีอะลูมินัมสูง 
 - การเลือกชนิดและพันธุ์พืชที่ทนทานต่ออะลูมินัม 
 - การใส่ปูนเพื่อลดปริมาณอะลูมินัม
การปรับปรุงแก้ไขดินกรดซัลเฟต 
  - การชะล้างดินและการระบายน้ำ 
  - การขังน้ำ 
  - การใส่ปูน 
  - การใส่แมงกานีสไดออกไซด์ (MnO 2) 
  - การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 
  - การใช้พันธุ์พืชที่ต้านทาน
การปรับปรุงแก้ไขดินเค็ม 
  -  การใช้พืชทนเค็ม 
  -  การล้างดินด้วยน้ำชลประทาน 
แนวทางการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์ในบริเวณดินพรุ 
  -  การเลือกพื้นที่บริเวณดินพรุ ที่อาจพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้ ควร 
เป็นบริเวณ ที่มีชั้นดินอินทรีย์ มีความหนาไม่เกิน 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในขั้นปานกลางหรือสูง 
  -  การเตรียมพื้นที่ ควรบุกเบิกตัดไม้ที่มีอยู่ดั้งเดิม เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 
  -  การควบคุมระดับน้ำ จำเป็นต้องวางแผนป้องกันน้ำท่วม และระบายออกไป โดย 
จะต้องออกแบบ ให้มีโครงสร้างเหมาะสม 
  -  การเลือกชนิดของพืชที่นำมาปลูก 
  -  การใช้ปุ๋ยบำรุงดิน 
แนวทางการปรับปรุงและการใช้ประโยชน์ในบริเวณดินทราย 
 - การปลูกพืชคลุมดิน 
 - การใช้ปุ๋ยบำรุงดิน 
 - การใช้ วัสดุปรับปรุงดิน 
 - การใช้ระบบพืชอนุรักษ์ดิน เช่น ถั่วมะแฮะ
                1.  ใช้ปุ๋ยคอก คือ การใช้มูลสัตว์ต่างๆซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกลบฯ รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย 
                2.  ใช้ปุ๋ยหมัก คือ การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน 
                3.  ใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน 
                4.  ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม เป็นต้น 
                5.  ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน พื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
    2.การใช้ดินไม่ถูกต้องการทำการเกษตรโดยเพาะปลูกพืชใดพืชหนึ่งซ้ำซากติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการปรับปรุงดินบำรุงดิน

แนวทางการแก้ไขปรับปรุงดินเสี่อมโทรม 
2. ดินกรดซัลเฟต หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ดินกรดจัด หรือ ดินปรี้ยวจัด ดินกรดประเภทนี้มีปัญหา มากกว่าดินกรดธรรมดา เพราะเป็นดินอยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งใช้ทำนาปลูกข้าว 
3. ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลือละลายน้ำได้อยู่ในปริมาณสูง จนเป็นอันตรายต่อพืช การที่มีเกลือละลาย อยู่ในสารละลายดินมากเช่นนี้ ทำให้เกิด Osmotic pressure จนถึงระดับที่พืชดึงดูดน้ำ ไปจากดินได้ยากลำบากมากขึ้น 
4. ดินพรุ เป็นดินที่มีชั้นดินที่เป็นอินทรียวัตถุล้วนๆ แต่อาจมีความหนาของชั้นมากน้อยต่างกัน เกิดขึ้นบนตะกอนน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม หรือแอ่งทรายชายทะเล 
5. ดินทราย เป็นดินเนื้อทรายเป็นกลุ่มชุดดินที่ไม่อุ้มน้ำ ง่ายต่อการกัดกร่อน ความในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุธาตุอาหารต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก ขาดสารปรับปรุงบำรุงดิน 
ดังนั้นการปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ทำได้หลายวิธี  ดังนี้


พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดง เป็นต้น 
                6.  ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได


                7.  ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตูอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลาย ๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ หากใช้เพียงชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การปรับปรุงบำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น